Sunny With A Chance Of Cloud

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อคติ 4


คำว่า อคติ แปลว่า ไม่เดิน, ไม่ไป หมายความว่า ไม่ควรเดิน ไม่ควรไป หรือไม่ควรประพฤติ อคติ ศัพท์นี้ตรงกับภาษาไทยว่า ความลำเอียง ความไม่เที่ยงธรรม, ความไม่ยุติธรรม
(ฐานะอันไม่พึงถึง, ทางความประพฤติที่ผิด, ความไม่เที่ยงธรรม, ความลำเอียง )
- wrong course of behavior; prejudice)
 มีอยู่ 4 อย่างคือ

1. ฉันทาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะรัก  (prejudice caused by love or desire; partiality)
2. โทสาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะเกลียด  (prejudice caused by hatred or enmity)
3. โมหาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะเขลาหรือเพราะความโง่หลงงมงาย ไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ว่าอย่างไรถูกอย่างไรผิดอย่างไรควร อย่างไรไม่ควร  (prejudice caused by delusion or stupidity)
  4. ภยาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะกลัวหรือเพราะเกรงใจ (prejudice caused by fear)

มาฆบูชา

มาฆบูชา เป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า เป็นวันเกิดพระธรรม ถือว่าเป็นวันที่ พระพุทธเจ้า ได้ประกาศ หลักธรรม คำสั่งสอนของพระองค์ เพื่อให้พระอรหันต์ทั้งหลาย ที่มาประชุมกันในวันนั้น นำไปเผยแผ่ 

           วั น"มาฆบูชา" เป็นวันบูชาพิเศษที่ต้องทำในวันเพ็ญเดือนมาฆะ หรือในวันที่พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ 
( ซึ่งโดยปกติทำกันในกลางเดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ เดือนแปดสองแปด ก็เลื่อนไปกลางเดือน ๔ )
ถือกันว่าเป็นวันสำคัญ เพราะวันนี้ เป็นวันคล้ายกับ วันประชุมกันเป็นพิเศษ แห่งพระอรหันตสาวก โดยมิได้มีการนัดหมาย ซึ่งเรียกว่า วันจาตุรงคสันนิบาต ซึ่งได้มีขึ้น ณ บริเวณเวฬุวันมหาวิหาร หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นเวลานับได้ ๙ เดือน
           วันนี้เอง ที่พระพุทธองค์แสดง "โอวาทปาฎิโมกข์" ซึ่งถือกันว่า เป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

พรหมวิหาร 4


พรหมวิหาร 4

 ความหมายของพรหมวิหาร 4
- พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่
เมตตาความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
กรุณาความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตาความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
อุเบกขาการรู้จักวางเฉย

คำอธิบายพรหมวิหาร 4
1. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้
และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย
ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
- ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และ
ความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์
- ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์
3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง
4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
     

พระไตรปิฏก



พระไตรปิฏก แปลว่า ๓ คัมภีร์ เมื่อแยกเป็นคำๆ ว่า พระ + ไตร + ปิฏก คำว่า "พระ" เป็นคำแสดงความเคารพหรือยกย่อง คำว่า "ไตร" แปลว่า สาม คำว่า "ปิฏก" แปลได้ ๒ อย่าง คือ แปลว่า คัมภีร์ หรือแปลว่า กระจาด ตะกร้า 

ดังนั้น พระไตรปิฏก จึงหมายถึง สิ่งที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดหมู่ไม่ไห้กระจัดกระจาย คล้ายกระจาดหรือตะกร้าอันเป็นภาชนะใส่ของนั้นเอง

ปิฏก ๓ หรือพระไตรปิฏก แบ่งออกเป็น
๑. พระวินัยปิฏก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของภิกษุ ภิกษุณี
๒. พระสุตตันตปิฏก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาทั่วไป
๓. พระอภิธัมมปิฏก ว่าด้วยธรรมล้วนๆ หรือธรรมสำคัญ

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สหกรณ์


“สหกรณ์” (Cooperatives) 

          สหกรณ์ คือ “ องค์การของบรรดาบุคคล ซึ่งรวมกลุ่มกันโดยสมัครใจในการดำเนินวิสาหกิจที่พวกเขาเป็นเจ้าของร่วมกัน และควบคุมตามหลักประชาธิปไตย เพื่อสนองความต้องการ ( อันจำเป็น ) และความหวังร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม”
          “สหกรณ์” ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542
          ดังนั้น สหกรณ์จึงตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่แก้ปัญหาในด้านการทำมาหากินที่เหมือน หรือคล้ายๆ กัน หรือความต้องการบริการที่เหมือนกันและเป็นปัญหาที่สมาชิกแต่ละคนไม่สามารถแก้เองได้ตามลำพัง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินการ ให้สมาชิกได้รับประโยชน์ในการประกอบอาชีพของตนมากกว่าที่แต่ละคนเคยได้จากการดำเนินกิจการเองตามลำพัง

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หลักธรรมของผู้เล่าเรียนศึกษา


คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ
๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น
ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน
ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ
วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง
จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่
วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คุณธรรม จริยธรรม


คุณธรรม หมายถึง คุณสมบัติฝ่ายดีโดยส่วนเดียว เป็นที่ตั้งหรือเป็นประโยชน์แก่สันติภาพหรือสันติสุขจึงเป็นที่ต้องการของ มนุษย์
คุณธรรมเป็น สิ่งที่ต้องอบรมโดยเฉพาะเพื่อให้เกิดขึ้นเหมาะสมกับที่เราต้องการ - ท่านพุทธทาสภิกขุ
คุณธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นคุณความดีงาม สภาพที่เกื้อกูล - พระราชวรมุนี
คุณธรรม เป็นเรื่องของความจริงแท้หรือสัจธรรม คุณธรรมทำให้เกิดการประพฤติ
ปฏิบัติ ที่ดี ทำให้เกิดการรักษาศีล คุณธรรมเป็นตัวหลักและกระจายออกเป็นจริยธรรมและจรรยาบรรณ - พระเมธีธรรมาภรณ์
คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงามความดี - พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานคุณธรรม หมายถึง สิ่งที่มีคุณค่า มีประโยชน์ เป็นความดีงาม เป็นมโนธรรม เป็นเครื่องประคับประคองใจให้เกลียดความชั่ว กลัวบาป ใฝ่ความดี และเป็นเครื่องกระตุ้นผลักดันให้เกิดความรู้สึกผิดชอบ เกิดจิตสำนึกที่ดีมีความสงบเย็นภายใน – ประมวลจากการประชุมระดมความคิด
“จริยธรรม”
จริยธรรม
 หมายถึง ระเบียบปฏิบัติที่มุ่งปฏิบัติเพื่อให้เกิดความผาสุกในสังคม เป็นสิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น แต่งขึ้นตามเหตุผลของมนุษย์เอง หรือตามความต้องการของมนุษย์ - พุทธทาสภิกขุ
จริยธรรม หมายถึงการนำความรู้ในความจริงหรือกฎธรรมชาติไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการ ดำเนินชีวิตที่ดีงาม อันจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม - พระราชวรมุนี
จริยธรรม หมายถึง การดำเนินการให้สอดคล้องกับสัจธรรม จริยธรรมจึงเป็นหลักแห่งความประพฤติที่ดีงามเพื่อประโยชน์ตนและสังคม - พระเมธีธรรมาภรณ์
จริยธรรม หมายถึง แนวทางในการประพฤติเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างร่มเย็นในสังคม- สาโรช บัวศรี
จริยธรรม หมายถึง ประมวลกฏเกณฑ์ความประพฤติ หรือมาตรการของความประพฤติซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีความสำนึกและการตัดสินใจ - กีรติ บุญเจือ
จริยธรรม หมายถึงธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม - พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
จริยธรรม หมาย ถึง สิ่งที่พึงประพฤติปฏิบัติ มีพฤติกรรมที่ดีงามต้องประสงค์ของสังคมเป็นหลักหรือกรอบที่ทุกคนกำหนดไว้ เป็นแนวปฏิบัติสำหรับสังคม เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม เกิดความสงบร่มเย็นเป็นสุข เกิดความรักสามัคคี เกิดความอบอุ่นมั่นคงและปลอดภัยในการดำรงชีวิต เช่น ศีลธรรม กฎหมาย ธรรมเนียม ประเพณี เป็นต้น
-ประมวล จากการประชุมระดมความคิด